1. ศิลปะและการออกแบบหลังสงครามโลกครั้งที่1
1.1 เรียลลิซึม
คำว่า Realism หรือสัจนิยม มีการเอามาใช้ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1840 โดยเริ่มต้นขึ้นในประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าสไตล์นี้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมาก่อนแล้ว โดยเน้นไปที่การสังเกตธรรมขาติ การ เขียนความจริงที่เกิดขึ้น
และการวิพากวิจารณ์เรื่องการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ศิลปินในกลุ่มนี้
ต่อต้านการนำเอาเรื่องราวของตำนานหรือประวัติศาสตร์กรีกโรมันมาเขียนเป็นภาพเพราะเชื่อว่า
ไม่ใช่สิ่งที่ศิลปินประสบพบเจอด้วยตนเองจึงไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดออกมา
ได้ทั้งหมด ภาพเขียนของกลุ่มสัจนิยมจึงเน้นการวาดภาพและการใช้สีที่อ้างอิงจากความเป็นจริงไม่
มีการเสริมแต่งให้ดูเกินจริงเหมือนกับกลุ่มโรแมนติค
ศิลปิน
1. มิเล (Jean-Francisco Millet) ศิลปินชางฝรั่งเศส เขาชอบเขียนผลงานเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะชาวนา ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ คนเก็บข้าว (The Gleanners) ซึ่งถือว่าเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากยุคโรแมนติคเข้าสู่เรียลลิสต์2. กูร์เบ (Gustave Courbet) เขามีความเชื่อว่าศิลปินสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่ตนประสบได้ดีกว่าสิ่งที่ตนไม่เคยพบเห็น ดังนั้นเขาจึงปฏิเสธจิตรกรรมนีโอ-คลาสสิซิซึม ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ สตูดิโอของข้าพเจ้า (The Interior of My Studio : A Real AllegorySumming Up Seven Years of My Life as an Artist)
3. โดมิเย (Honore Daumier) เขาถือว่าเป็นทั้งศิลปินโรแมนติซิสต์และเรียลลิสต์ในเวลาเดียวกัน ผลงานของเขามักสื่อถึงเรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคมได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด โดยจะใช้วิธีการร่างภาพหยาบๆ ไม่เน้นรายละเอียด ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ ภาพ อิสรภาพของสิ่งพิมพ์ (The Freedom of the Press : Don’t Meddle with it) ซึ่งถูกหนังสือพิมพ์เลอ ชาริวารีประท้วงและเซ็นเซอร์ผลงานของเขา
4. มาเน (Eduard Manet) ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ งานเลี้ยงบนสนามหญ้า(Dejeuner sur I’Herbe) ซึ่งเป็นการประชดประชันชนชั้นขุนนางของฝรั่งเศสในยุคนั้น ผลงานชิ้นนี้จัดว่าเข้าข่ายผลงานแบบเรียลลิซึ่ม แต่ผลงานภายหลังของเขาหันไปทำงานในแบบอิมเพรสชั่นนิซึมผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นของเมเนคือ โอลิมเปีย (Olympia) ซึ่งสร้างความอื้อฉาวเป็นอย่างมากหอศิลป์ (Salon) ปฏิเสธภาพเขียน งานเลี้ยงบนสนามหญ้าของมาเน แต่กลับยอมรับภสพโอลิมเปีย ซึ่งทำให้เกิดการวิพากวิจารณ์อย่างรุนแรงเพราะทางหอศิลป์ ไม่ยอมรับงานสมัยใหม่หรืองานหัวก้าวหน้า ทำให้ในปี 1863 เกิดการประท้วงกรรมการของหอศิลป์ ที่ปฏิเสธผลงานภาพเขียนกว่า 4000 ชิ้น จนภายหลังพระเจ้านโปเลียที่ 3 ออกคำสั่งอนุญาตให้เปิดนิทรรศการพิเศษชื่อว่า หอศิลป์สำหรับงานที่ถูกคัดออก (Salon des Refuses) เพื่อแสดงผลงานของศิลปินที่ถูกคัดออกได้แก่
มาเน, ปิซาโร, เซซานน์ เป็นต้น
1.2 อิมเพรสชั่นนิซึ่ม
Impressionism หรือลัทธิประทับใจ ก่อตัวที่ปารีสในช่วง ค.ศ. 1860 และดำเนินต่อไปจนถึงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นกลุ่มที่นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องแสงสีเพื่อแสดงบรรยากาศตามเวลาและฤดูกาลต่างๆ และเนื่องจากเป็นยุคที่วิทยาศาสตร์พัฒนาสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นเดินทางที่มีการนำเอารถไฟมาใช้จึงสามารถเดินทางไปยังสถานที่ไกลๆ รวมถึงการคิดค้นสีหลอด จึงทำให้ศิลปินสามารถเดินทางไปวาดภาพในสถานที่ต่างๆได้โดยง่ายการทำงานของศิลปินในกลุ่มนี้จะใช้วิธีการวาดภาพที่รวดเร็วฉับไว โดยมักจะทิ้งรอยแปรงหรือเส้นที่เกิดจากการร่างภาพเอาไว้ ไมได้เกลี่ยเรียบเป็นเนื้อเดียวกันแบบศิลปะยุคก่อนหน้านั้นรวมถึงมีการใช้สีหลากหลายโดยนำเอาเนื้อสีแท้ๆมาใช้แทนที่จะเป็นการแรเงาด้วยสีเทาหรือสีดำส่วนทางด้านเนื้อหากลุ่มอิมเพรสชั่นนิซึมมีความแตกต่างจากเรียลลิซึมตรงที่ไม่ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมและการเมือง แต่จะนำเสนอเรื่องราวของชีวิตประจำวัน ชีวิต ความสนุกสนานทิวทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ผลงานในรูปแบบอิมเพรสชั่นนิซึมยังได้รับอิทธิพลการใช้สีมาจากภาพพิมพ์ญี่ปุ่นซึ่งเป็นสินค้านำเข้าของยุคนั้น
ศิลปิน
1. มาเน ในช่วงแรกๆมาเนถูกจับแยกออกจากกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์เพราะไม่ยอมรับเรื่องการใช้สีสดและเรื่องแสง จนภายหลังผลงานชื่อ บาร์ที่โฟลี-แบร์แชร์ (Bar at the Folies-Bergere) จึงมีการใช้สีในแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ โดยเฉพาะงานยุคหลังๆของเขาที่ใช้วิธีการแต้มสีเป็นจุดเล็กๆซึ่งส่งอิทธิพลไปถึงศิลปินในกลุ่มนีโอ- อิมเพรสชั่นนิซึส
2. เดอกา (Edgar Degas) เขามักนิยมเขียนภาพของสตรี ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ภาพ ความว่างเปล่า (Absinthe) และภาพการฝึกเต้นรำ (The Dancing Lesson)
3. โมเน (Claude Monet) เขาจัดว่าเป็นศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ที่มีฝีมือเหนือกว่าคนอื่นทั้งหมด เขาศึกษาการใช้สีอย่างเข้มงวด โดยเขาชอบทำงานกลางแจ้ง แทนที่จะทำงานในสตูดิโอผลงานของเขามักใช้สีอย่างหลากหลายที่มีชื่อเสียงได้แก่ภาพ มุมของแซงต์-อะเดรสส์ (Terrace of Sainte-Adresse) และ สระบัว (Water Lily Pond) ผลงานทั้ง 2 ชิ้นเป็นจิตรกรรมกลางแจ้ง ซึ่งเป็นแบบฉบับให้แกศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์
4. เรอนัวร์ (Auguste Renoir) ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ภาพ หญิงสาวครึ่งท่อนใต้แสงแดด (Torso of a Woman in the Sun) และอาหารเที่ยงในงานสังสรรค์บนเรือ (Luncgeon of theBoating Party)
5. ปิซาโร (Camille Pissarro) ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ จัตุรัสโรงละครฟร็องเซ (Placedu Theatre Francais) ซึ่งการทำงานของเขาได้อิทธิพลมาจากการถ่ายภาพ ทำให้ภาพเขียนของเขามี
ลักษณะคล้ายกับภาพถ่าย
6. โรแด็ง (Auguste Rodin) เป็นประติมากรอิมเพรสชั่นนิสต์ที่มีชื่อเสียงมาก โดยผลงานของเขาจะทิ้งในส่วนของพื้นผิวไว้ให้มีลักษณะสูงต่ำ ไม่มีขัดจนเรียบเหมือนผลงานประติมากรรมในอดีต ในบางครั้งอาจจะมองดูว่าผลงานยังไม่เสร็จ จึงทำให้เกิดการะสะท้อนของแสง เช่นเดียวกับรอยแปรงของผลงานอิมเรสชั่นนิซึม จึงสามารถบอกได้ว่าผลงานของเขามีคุณสมบัติของงานอิมเพรสชั่นนิซึ่ม
1.3 โพส-อิมเพรสชั่นนิซึ่ม
คำว่า Post-Impressionism แปลว่าแนวร่วมหลังยุคอิมเพรสชั่นนิซึม ซึ่งหมายถึงกลุ่มงานจิตรกรรมประเภทหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากอิมเพรสชั่นนิซึม แต่มีความแตกต่างโดยที่โพส-อิมเพรสชั่นนิซึ่มจะนิยมใช้สีสดมากกว่าและมีการตัดทอนภาพให้หลือเพียงแค่รูปทรงมากกว่ากล่าวคือมีการนำสัญลักษณ์เข้ามาใช้ เน้นการตีกรอบรูปทรง ให้แยกกันโดยชัดเจนผลงานจึงดูมีความหยาบและรุนแรงกว่า ซึ่งงานศิลปะของกลุ่มนี้ส่งผลต่อกลุ่มนามธรรมที่ตามมา
ศิลปิน
1. ตูลูส-โลเตร็ก (Henri de Toulouse-Lautrec) เขามักเขียนภาพเกี่ยวกับไนต์คลับ คาเฟ่ บาร์โดยใช้การสเก๊ตช์คร่าวๆแล้วใส่สีลงไปในบริเวณที่สเก็ช ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ การเต้นรำที่มูเล็ง
รูช (Quadrille at Moulin Rouge)
2. เซซานน์ (Paul Cezanne) เขาเป็นศิลปินโพส-อิมเพรสชั่นนิซึ่มที่มีความสำคัญมากที่สุดคนหนึ่ง ผลงานของเขามักตัดทอนจนเหลือเพียงโครงสร้างหรือรูปทรงเรขาคณิต นอกจากนี้ยังมีการใช้สีดำในการตัดเส้นกรอบของรูปทรงต่างๆด้วย โดยมักเขียนภาพหุ่นนิ่งและภาพเหมือนของตัวเองซึ่งผลงานในยุคแรกของเขามีลักษณะไม่แตกต่างไปจากศิลปินในกลุ่มอิมเพรสชั่นนิซึ่ม แต่ในยุคหลังจึงเน้นการตัดทอนภาพมากขึ้น เช่นภาพ คนอาบน้ำ (The Great Bathers) ผลงานของเซซานน์ถือว่าเป็นอิทธิพลสำคัญของผลงานศิลปินในยุคต่อมาอย่างมาก
3. เซอรา (George Seurat) ผลงานของเขาได้อิทธิพลมาจากเซซานน์และเรื่องราวของอิมเพรสชชั่นนิสต์ยุคแรก โดยเขาจะใช้วิธีการแต้มสีเป็นจุดๆลงไป โดยให้สีทั้งหมดผสมสีกันเองในสายตาของคนดู เหมือนการผสานกันของจุดสีตามหลักวิทยาศาสตร์ ผลงานของเขาจึงมีขนาดใหญ่มากและจำเป็นต้องมองจากระยะห่างจึงจะรู้ว่าเป็นภาพอะไร ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่อาทิตย์ยามบ่ายบนเกาะลา กร็องด์ จัตต์ (Sunday Afternoon on the Island of La Grande Jatte) เขา
เรียกผลงานของเขาว่า Divisionist แต่กลับเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายว่า นีโอ-อิมเพรสชั่นนิสต์ (Neo-Impressionist) และพอยทิลลิสต์ (Pointillist)
4. ฟาน ก๊อก (Vincent Van Gogh) ในยุคแรกเขาทำงานในแบบอิมเพรสชั่นนิสต์มาก่อน แต่ภายหลังเขาก้พัฒนาผลงานโดยมักใช้ฝีแปรงหนา สีสด และมักใช้สีเป็นก้อนจำนวนมากไปวางบนผลงานเลย จึงทำให้เกิดความรุนแรงของพื้นผิวที่นูนออกมาเกินความจริงจากผลงานของเขา เขานิยมวาดภาพเหมือนของตัวเองมาก ผลงานที่มีชื่อของเขาคือ คืนที่ดาวกระจ่างฟ้า (Starry Night)
5. โกแก็ง (Paul Gauguin) ผลงานของเขาใช้เส้นที่บิดเบี้ยวลักษณะคล้ายคลื่น ระบายสีเรียบมีเนื้อสีสดใสดูเกินจริง และมักตัวขอบภาพด้วยเส้นสีดำ ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ พระคริสต์สีเหลือง (Yellow Christ) นอกจากนี้โกแก็งยังมีความหลงใหลในผู้คนชาวตาฮิติ โดยเขาใช้ชีวิตช่วงที่เหลืออยู่บนเกาะทะเลใต้และวาดผลงานที่เป็นภาพเปลือยของหญิงสาวชาวตาฮิติมากมาย
1.4 ซิมโบลิซึ่ม
ผลงานในกลุ่มนี้จะให้ความสำคัญกับจินตนาการมากกว่าธรรมชาติ จะนิยมเขียนภาพโดยใช้สัญลักษณ์แสดงออก โดยสัญลักษณ์อาจจะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาในภาพตรงๆเกี่ยวกับเรื่องลึกลับสภาวะทางจิต ซึ่งมีความแต่งต่างจากผลงานคลาสสิซิซึ่มตรงที่จะต้องอาศัยตีความหมาย ในด้านรูปแบบของการสร้างงานนั้น ศิลปินในกลุ้มนี้ยังหยิบยกเอาเทคนิควิธีการของลัทธิอื่นมาใช้ด้วยดังนั้นทำให้ผลงานของศิลปินหลายคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นอาจจะกลายได้ว่าซิมโบลืซึมเป็นเรื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ
ศิลปิน
1. มอโร (Gustav Moreau) เขาถือว่าเป็นผู้นำของกลุ่มซิมโบลิซึ่มฝนฝรั่งเศส ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ ภาพ ออร์ฟีอุส (Orpheus) ซึ่งนำมาจากตำนานของกรีก เพียงแต่ว่างานของมอโรมีความลึกลับ มืดหม่น และมีการใช้สีที่แปลกประหลาด เป็นลักษณะหนึ่งของกลุ่มซิมโบลิซิสต์
2. มุงก์ (Edvard Munch) เขาผสมเอารูปแบบของโพส-อิมเพรสชั่นนิสต์ เข้ากับเนื้อหาของซิมโบลิสต์ จนกลายเป็นลักษณะเฉพาะตัว ผลงานของเขามีความน่ากลัว วิปริต มืดหม่น เต็มไปด้วยความทุกข์และความตาย ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ คนกรีดร้อง (The Scream)
3. รูโซ (Henri Rousseau) เขาได้รับการขนานนามว่า จิตรกรผู้ไร้เดียวสา เพราะเขาไม่เคยได้รับการศึกษาทางด้านศิลปะอย่างเป็นทางการ ทำให้ผลงานของเขามีรูปแบบที่ผิดส่วน และขัดแย้งโดยผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ ความฝัน (The Dream)
1.5 อาร์ตนูโว
อาร์ตนูโว (Art Nouveau) มีอิทธิพลอย่างมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นความพยายามของหลายประเทศไม่ว่าจะเป็น อังกฤษ ฝรังเศส และเยอรมัน อาร์ตนูโวจะไม่นิยมใช้เส้นตรงและมุมแหลม แต่จะใช้เส้นที่มีการเคลื่อนไหวไปในธรรมชาติ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากกอธิค (ในแง่การใช้รูปทรงธรรมชาติ) โรโกโก (ในแง่การใช้ประดับตกแต่ง) และเซลติกซึ่งเป็นศิลปะของชาวพื้นเมืองอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นเส้นสายของพันธุ์ไม้เลื้อยที่ซับซ้อนกัน ความอ่อนช้อยของดอกไม้ ใบไม้ ความ
โค้งงอในธรรมชาติงานออกแบบในลักษณะนี้จึงนิยมนำรูปแบบในธรรมชาติมาตัดทอนรายละเอียด ให้เหลือ
ไว้เพียงเค้าโครงเท่านั้น และนำมาใช้ประดับตกแต่ง โดยเน้นการนำไปตกแต่งบนพื้นผิวหน้า(Surface Decoration) ของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย อาคารสถานที่เป็นต้น โดยมักใช้สีคล้ายกับสีจากธรรมชาติ นักออกแบบที่มีชื่อเสียงได้แก่ คลิมท์ (Gustav Klimt) ศิลปินชาวออสเตรีย ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ จุมพิต (The Kiss) ผลงานของเขาใช้เส้นที่อ่อนช้อย พลิ้วไหว สัดส่วนโค้งงอบิดเบี้ยว โดยจะนิยมวาดภาพผู้หญิงที่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หรูหรา นอกจากนี้ยังมีการนำสีทองเข้าใช้
ในผลงานอีกด้วย
2. สไตล์ศิลปะยุคใหม่
2.1 โฟวิซึม
เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1905 โดยศิลปินรุ่นใหม่ในกรุงปารีสที่ได้รับอิทธิพลมาจากโพสอิมเพรสชั่นนิสต์โดยเฉพาะ ฟาน ก๊อก และเซนซานน์ ผลงานนิยมใช้เส้นและรูปทรงที่บิดเบี้ยว ใช้สีสดใส สีแท้โดยไม่มีการผสมหรือเบรค และการใช้สีตรงข้ามตัดกันอย่างรุนแรง โดยทิ้งรอยแปรงเอาไว้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังสร้างรูปทรงในภาพจากสีล้วนๆ จนถูกนักวิจารณ์ศิลปะประชดประชันว่าเหมือนงานของสัตว์ป่ า (Fauves) จึงเป็นที่มาของชื่อสไตล์ว่าโฟวิซึ่ม (Fauvism) ถึงแม้ศิลปะใน
แบบโฟวิซึมจะมีอายุสั้น แต่ก็ส่งอิทธิพลต่อศิลปะในกลุ่มเอกเพรสชั่นนิซึมอย่างมาก
ศิลปิน
มาตีสส์ (Henri Matisse) เขาถือว่าเป็นศิลปินในกลุ่มนี้ที่มีคนรู้จักมากที่สุด เริ่มต้นทำผลงานในแบบอิมเพรสชั่นนิสต์ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นสไตล์ของตัวเองในที่สุด ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ภาพ มาดามมาตีสส์ : เส้นสีเขียว (Madame Matisse : The Green Line) ซึ่งผลงานในระยะหลังของเขาเริ่มเปลี่ยนแปลงไปสู่ศิลปะนามธรรมหรือแอบสแทรกต์ (Abstract) แม้จะไม่ได้มีลักษณะเป็นนามธรรมโดยสมบูรณ์แต่ก็พยายามสื่อเรื่องราวในลักษณะนามธรรมของเสียงดนตรีออกมาเป็นภาพ คือผลงานชื่อ ประสานเสียงสีแดง (Harmony in Red)
2.2 เอกซเพรสชั่นนิซึม
เริ่มต้นโดยกลุ่มศิลปินในประเทศเยอรมันที่สนใจการใช้สีและการแสดงออกของกลุ่มโพส-อิมเพรสชั่นนิสต์ โดยเรียกกันว่ากลุ่ม เอกเพรสชั่นนิสต์ (Expressionist) ซึ่งเป็นสไตล์ทีได้รับความนิยมค่อนข้างยาวจนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่ 1งานศิลปะในกลุ่มนี้ใกล้เคียงกับโฟวิซึมในแง่การใช้สีเพื่อแสดงออกอารมณ์ความรู้สึก แต่เนื้อหาจะเกี่ยวกับการแสดงความรู้สึกภายในของศิลปินที่มีต่อสังคมการเมือง เป็นต้น โดยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
1. เดอะบริดจ์ (The Bridge) ก่อตั้งที่เมืองเดรสเตนในเยอรมัน ผลงานของศิลปินในกลุ่มนี้จะมีการใช้เส้นที่มีความหยาบ ใช้สีตัดกันอย่างรุนแรง ศิลปินที่เป็นแกนนำของกลุ่มนี้คือ เคียร์ชเนอร์ (Ernst Ludwig Kirschner) เขาเคยทำงานเป็นสถาปนิกมาก่อน ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ หญิงห้านางบนถนน ค.ศ. 1913 (Five Women in the Street of 1913) ที่สื่อถึงชีวิตของคนเมืองได้อย่างดีภาพวาดของเขาค่อนข้างมีความหยาบและเต็มไปด้วยเหลี่ยมมุมมากมาย
2. เดอะบลูไรเดอร์ (The Blue Rider) ก่อตั้งที่เมืองมิวนิคในเยอรมัน ศิลปินกลุ่มนี้จะนิยมใช้ภาพแบบแอบสแทรกต์ที่ดูไม่เป็นรูปภาพ ศิลปินที่มีชื่อเสียงในกลุ่มนี้คือ คานดินสกี (Wassily Kandinsky) เขาเป็นศิลปินรัสเซียที่อญุ่ในกลุ่มรุ่นแรกๆ โดยผลงานของเขาจะขจัดสิ่งที่เป็นภาพออกไปจนไม่สามารถมองออกว่าเป็นภาพของอะไร เห็นแต่ เส้น รูปร่าง รูปทรง และสีเท่านั้น โดยคานดินสกีนำองค์ประกอบเหล่านั้นมาจัดวางให้ลงตัว เขามักตั้งชื่อภาพตามดนตรี ดังนั้นจึงหมายความว่าเขานำเอาดนตรีมาบรรยายเป็นภาพในลักษณะแอบสแทรกต์นอกจากคานดิสกีศิลปินที่มีความสำคัญของกลุ่มเดอะบลูไรเดอร์อีกคนหนึ่งคือ มาร์ก
(Franz Marc) ผลงานของมาร์กมีความแตกต่างจากคานดินสกี้ตรงเขาไม่ได้พยายามขจัดภาพออกไปอย่างสิ้นเชิง แต่เขาจะวาดเป็นเพียงเค้าโครงของสิ่งที่เป็นภาพเท่านั้น จึงสามารถเข้าใจได้ว่าภาพของเขาตัดทอนมาจากอะไร ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ ม้าสีน้ำเงิน (Blue Horse)
2.3 คิวบิซึม
Cubism ถือว่าเป็นสไตล์ที่มีอิทธิพลในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มากที่สุด เริ่มต้นที่ปารีส โดยมีการนำเอาช่องไฟมาใช้ในการตัดแบ่งวัตถุเป็นเหลี่ยมเป็นมุมให้เห็นถึงด้านต่างๆ รวมถึงตัดทอนคลี่คลายจากโลกแห่งความจริง เพื่อแสดงให้เห็นมุมมองที่หลากหลาบในรูปทรงต่างๆ โดย
กระบวนการสร้างงานจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. กระบวนการบาศกนิยมแบบหน้าตัด (Facet Cubism) เป็นกระบวนการการทำงานในระยะแรกของศิลปินกลุ่มนี้ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเซซานน์ ผลงานจะตัดทอนในส่วนที่ไม่ต้องการและเพิ่มเติมด้วยรูปทรงเรขาคณิต เน้นพื้นที่หักเหคล้ายเหลี่ยมของเพชร
2. กระบวนการบาศกนิยมแบบวิเคราะห์ (Analytic Cubism) เป็นขั้นตอนที่พัฒนาขึ้นมาจากกระบวนการแรก โดยการนำรูปทรงมาทำให้บิดเบี้ยว แตกสลายมากขึ้น และนำเสนอรูปทรงเหล่านั้นให้คละเคล้าและรวมอยู่ในพื้นระนาบเดียวกัน สีที่ใช้จะเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาเพียงอย่างเดียว
3. กระบวนการบาศกนิยมแบบสังเคราะห์ (Synthetic Cubism) เป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์รูปทรงขึ้นมาใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามสภาพความเป็นจริง โดยเฉพาะสีที่จะมีความสดใสมากขึ้น
ศิลปิน
1. ปิกัสโซ เขาถือว่าเป็นศิลปินคิวบิซึมที่มีความสำคัญที่สุด โดยยุคแรกเขาทำงานในแบบอิมเพรสชั่นนิซึ่มและโพสอิมเพรสชั่นนิซึม แต่สไตล์ที่เป็นตัวเขาจริงๆคือ ซิมโบลิซึ่ม ซึ่งเป็นยุคที่เรียกว่า ช่วงสีน้ำเงิน (Blue Peroid) ผลงานของเขาในยุคนี้จะนิยมใช้สีน้ำเงินแสดงถึงความเศร้าหดหู่ ภายหลังผลงานของเขาก็มีการตัดทอนรูปทรงจนเกิดเหลี่ยมมุม อย่างในภาพ สาวงามแห่งเมืองอาวิญอง (Les Demoisells d’Avignon) ซึ่งแตกภาพออกเป็นรูปทรงเรขาคณิต และเน้นเส้นขอบคม
เข้ม เป็นมุมแหลม นอกจากงานจิตรกรรมปิกัสโซก็ทำงานในแบบประติมากรรมชื่อ หัวผู้หญิงนางหนึ่ง (Head of a Woman) และงานในรูปแบบคอลาช (Collage) คือการตัดภาพออกมาเป็นส่วนต่างๆแล้วนำมาประกอบเป็นภาพใหม่ ผลงานชิ้นสำคัญขนาดใหญ่ของเขาคือ แกร์นิกา (Guernica)
2. บราก (George Braque) เขาได้รับอิทธิพลการทำงานมาจากเซซานน์และชอบภาพสาวงามแห่งเมืองอาวิญองของปิกัสโซมาก ภาพที่มีชื่อเสียงของเขาคือภาพ ไวโอลินกับเหยือกน้ำ(Violin and Pitcher)
2.4 ฟิวเจอริซึม
เป็นกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลมาจากคิวบิซึม เป็นการผสมผสานรูปทรงเข้ากับการเคลื่อนไหวเนื้อหาของศิลปะในแนวฟิวเจอริซึมจะเกี่ยวกับความเร็ว การเดินทาง เทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อผู้คนในสังคม ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่อิตาลี ผลงานจึงแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่รวดเร็วและรุนแรง ศิลปินที่มีชื่อในกลุ่มนี้คือ บอชโชนิ (Umberto Bocioni) กับผลงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงคือ รูปทรงเอกลักษณ์ของความต่อเนื่องในช่องไฟ (Unique Forms of Continuity in Space) เป็นรูป
สำริดของผู้ชายก้าวเดินอย่างรวดเร็ว
2.5 ดาดาอิซึม
คำว่าดาดา (Dada) เป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า ม้าไม้ของเด็ก เป็นคำที่ถูกนำมาใช้เป็นชื่อของกลุ่มแนวร่วมปัญญาชนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยรวมกลุ่มกันที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งปรกอบด้วยศิลปิน นักแสดง นักเขียนที่ไปชุมนุมกันแถวคาเฟ่ในเมืองซูริค เพื่อถกเถียงถึงประเด็นต่างๆ ดังนั้นดาดาจึงไม่ใช่สไตล์ศิลปิน แต่เป็นแนวคิดต่อต้านศิลปะ (Anti-Art) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ท้าทายสมมุติฐานเดิมเกี่ยวกับศิลปะ และทดลองสิ่งใหม่ๆ ทัศนคติของกลุ่มนี้ต่องานศิลปะจึงค่อนข้างเลวร้าย ซึ่งแสดงออกในลักษณะเยาะเย้ย ถากถาง แดกดัน
ศิลปิน
ดูช็อง (Marcel Duchamp) เขามักนิยมตั้งชื่อผลงานของเขาเป็นคำผวนหรือเล่นคำให้เกิดความหมายแปลกๆหรือประชดประชัน เช่น L.H.O.O.Q. ซึ่งสามารถอ่านออกเสียงได้หลากหลายและมีความหมายแตกต่างกัน โดยผลงานชิ้นนี้เป็นการเขียนหนวดเคราลงไปบนใบหน้าของโมนาลิซ่าของลีโอนาร์โด ดาวินชี โดยเขาเรียกผลงานในแบบ L.H.O.O.Q. ว่า “งานสำเร็จรูป” โดยงานสำเร็จรูปชิ้นที่รุนแรงที่สุดคือ โถปัสสาวะ ซึ่งเขาเอาโถปัสสาวะจริงๆมาทำลักษณะงานที่แสดงถึงความเป็นดาดาอีกรูปแบบคือ งานอาสซองบราช (Assemblage) หรืองานสื่อผสม ซึ่งนำเอาวัตถุต่างๆมาประกอบกันเป็นศิลปะงานศิลปะ ในบางครั้งก็นำเอารูปแบบหรือสไตล์ของศิลปะต่างๆมาปะปนผสมผสานเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ ซึ่งแนวความคิดของดาดาส่งอิทธิพลถึงงานศิลปะที่ตามมาอย่างเซอร์เรียลลิสม์หรือป๊อปอาร์ท
2.6 เซอร์เรียลลิซึม
Surrealism หมายถึง เหนือความเป็นจริง ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มดาดา โดยนำเอาทฤษฎีจิตวิทยาของซิกมันต์ ฟรอนด์ (Sigmund Freud) นักจิตวิทยาชาวออสเตรีย ในเรื่องจิตใต้สำนึกมาเป็นเหตุผลในการสร้างผลงานเชิงฝั่นเฟื่อง แปลก เหนือจริง โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงออกถึงความปรารถนาของศิลปินในอิสระในการแสดงออกทางจินตนาการในรูปแบบใหม่เนื้อหาในงานของเซอร์เรียลลิสม์จะนิยมนำเสนอในเนื้อหาในลักษณะประชดประชันสังคม โดย
จำเป็นต้องอาศัยการตีความในผลงานสูงการทำงานสามารถแบ่งได้ 2 อย่างคือการนำวัสดุชิ้นเดียวหรือหลายชิ้นมาประกอบกันให้
เป็นรูปทรงแบบใหม่ และการสร้างรูปทรงแบบใหม่ขึ้น
ศิลปิน
1. เด คิริโค (Giorgio de Chirico) เขามักเขียนภาพที่แสดงให้เห็นถึงเมืองร้างที่มีขนาดใหญ่ลึกลีบ โดยมักใช้สีที่ขุ่นหมองแสดงถึงความเศร้า นอกจากนี้ยังมีการนำส่วนประกอบต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกันในภาพมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสงสัยและความลึกลับ ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือเพลงรัก (Le chant d’amour)
2. ชากัลล์ (Marc Chagall) ศิลปินชาวรัสเซีย ผลงานของเขาช่วงต้นได้รับอิทธิพลมาจากคิวบิสม์ ภายหลังจึงได้มีการพัฒนารูปแบบเฉพาะตัวของตนเองขึ้น โดยการนำลักษณะการวาดภาพแบบรัสเซียมาใช้ ผลงานของเขาสื่อถึงจินตนาการ ความฝัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาได้แก่ วันเกิด(The Birthday) และ ชั้นและหมู่บ้าน (I and the Village)
3. เอิร์นส์ (Max Ernst) ภาพเขียนของเขาไม่มีรูปร่างที่แน่นอน โดยจะเป็นรูปภาพของมนุษย์ในหลายกระบวนท่า จัดวางผสมผสานเข้ากับภาพภูมิทัศน์ที่แปลกประหลาด โดยมักใช้เทคนิคการถูภาพ โดยนำวัตถุมาวางแล้วถูด้วยถ่านหรือดินสอเพื่อให้เกิดเป็นรูปภาพบนผ้าใบผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ ดวงตาของความเงียบ (The Eye of Silence)
4. ดาลี (Salvador Dali) ศิลปินชาวสเปนที่ถือว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดในศิลปินกลุ่มเซอร์เรียล
ลิสม์ ผลงานของเขาใช้เทคนิคการวาดภาพแบบคลาสสิคเข้ามาผสม ทั้งทางด้านรูปทรง แสงเงาที่ดูสมจริง มีรายละเอียดในภาพสูง เอกลักษณ์สำคัญของดาลีคือมักทิ้งในส่วนของพื้นที่ด้านหลังภาพเอาไว้โล่งๆกว้างใหญ่ ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ The Persistence of Memory
5. Miro (Joan Miro) ศิลปินชาวสเปน ผลงานของเขามีลักษณะใกล้เคียงกับคันดินสกี ซึ่งจะมีลักษณะเป็นนามธรรมสูง ดังนั้นบางครั้งจึงสามารถจัดเขาเป็นศิลปินในกลุ่มนามธรรมด้วย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่ นาหลังไถ (La terre Labouree)
2.7 เด สตีเจล
De Stijl เป็นภาษาดัชต์มีความหมายเดียวกับคำว่า The Style แปลว่าประบวนแบบชื่อกลุ่มมาจากนิตยสารศิลปะฉบับหนึ่ง ศิลปินในกลุ่มนี้เป็นสถาปนิกและนักออกแบบในประเทศฮอลแลนด์ พวกเขาเชื่อว่างานศิลปะและงานออกแบบควรทำเพื่อมุ่งไปสู่คนทั่วไปมากกว่ามุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และพยายามหาสไตล์ที่เป็นสากลนิยม ในด้านงานศิลปะพวกเขาได้อิทธิพลมาจากแนวคิดของ Cubism ในการใช้รูปทรงเรขาคณิต ศิลปินในกลุ่ม De Stijl นิยมใช้รูปทรงง่ายๆได้แก่ สี่เหลี่ยมมุมฉาก สี่เหลี่ยมผืนผ้า นิยมใช้เส้นที่หนาและสีขั้นที่ 1 คือ สีน้ำเงินเหลือง แดง หรือสีขาวและสีดำ การทำงานในลักษณะนี้บางครั้งเรียกกันว่า Neo-Plasticsim หรือรูปทรงแนวใหม่
ศิลปิน
1. มอนดรีอัน (Piet Modriaan) เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งนิตยสาร De Stijl ร่วมกับ ฟาน ดู
สเบิร์ก (Theo van Doesburg) ผลงานของเขาถือว่าเป็นผู้ริเริ่มของการทำงานในสไตล์นี้คือนิยมใช้
รูปทรงเหลี่ยม เรียบง่าย ใช้เส้นสีดำตัดขอบ และใช้แม่สีกับสีขาวดำเท่านั้น ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่
ภาพ การจัดองค์ประกอบในสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีดำ (Composition in Blue, Yellow and Black)
2. ริตเฟลด์ (Gerrit Rietvield) เดิมทีเขาทำงานเป็นช่างไม้ ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขาคือ
เก้าอี้สีแดง-น้ำเงิน (Red and Blue Chair) และบ้านชโรเดอร์ (Schroeder)
2.8 เบาเฮาส์
เบาเฮาส์ (Bauhaus) ถือว่าเป็นศูนย์กลางของงานออกแบบในสมัยนั้น เป็นสถาบันและความคิดที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างสรรค์ระหว่างเทคโนโลยีและศิลปะ ดังนั้นเบาเฮาส์จึงเป็นแหล่งรวมตัวของศิลปินหัวก้าวหน้า (Avant-garde) ไม่ว่าจะเป็นจิตรกร ประติมากร สถาปานิกก่อตั้งโดย โกรปิอุส (Walter Gropius) ที่เมืองเวียนนา โดยเริ่มแรกนั้นพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่ม เด สตีลเจ โดยนำแนวคิดนั้นมาปรับเข้ากับสภาพของสังคม และการใช้งานได้จริง หัวใจของเบาเฮาส์คือการนำประโยชน์ใช้สอยไปสู่การออกแบบความคิดของเบาเฮาส์ได้ถ่ายทอดสู่งานทัศนสื่อสารทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นงานถ่ายภาพ
ตัวอักษร เป็นที่ยอมรับกันว่าเบาเฮาส์เป็นจุดกำเนิดของอาชีพออกแบบ (Professional Design) อย่างแท้จริง โดยเฉพาะการศึกษาด้านการออกแบบและปรัชญาการออกแบบ นอกจากโกรปิอุสแล้วผู้นำที่มีชื่อเสียงคนอื่นๆได้แก่ เบเยอร์ (Bayer) โมฮอย-นอจ (Moholy-Nagy) คลี (Klee) และอัลเบิร์ส(Albers) ผลงานที่มีชื่อเสียงของเบาเฮาส์คือ เก้าอี้ของ Marcel Breuer ทำจากเหล็กท่อนกลม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น